ญาติโยมรู้ยัง...ถวายเงินอย่างไรไม่เป็นบาป.?

การถวายทอง-เงิน แด่พระภิกษุและสามเณร บาปจริงหรือ?

คำถาม...'โยม' นำทอง-เงิน ถวายแด่พระภิกษุและสามเณร บาปหรือไม่?

คำตอบ...ไม่บาป แม้ในพระไตรปิฎกเล่ม 3 ตหน้า 940 ปกน้ำเงิน ที่อ้างไว้ หรือพระไตรปิฎกเล่ม 3 หน้า 887 ปกสีแดง (ภาพประกอบด้านล่าง)

หมายความถึง...พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ปรับอาบัติพระ ไม่เกี่ยวกับญาติโยม และเมื่อทบทวนถึง...วัตถุทานต้องห้าม (มีผลบาป) มีอะไรบ้าง? 

พบว่ามี 5 อย่าง คือ ยาพิษ , อาวุธ , น้ำเมา , สัตว์มีชีวิตเพื่อฆ่า , เมถุน

➤ ดังนั้น...ทอง-เงิน...ไม่จัดเป็นวัตถุทานต้องห้ามแต่อย่างใด


คำถาม  "พระ" รับทอง-เงินจากโยมบาปหรือไม่?

คำตอบ  ดูที่เจตนา...
ขยายความตามพระวินัยจากป้ายภาพแรกที่เขียนว่า

อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง-เงิน หรือ ยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์

มาเป็นบทสรุปตามพระวินัย โดย แสวง อุดมศรี ผู้เขียน 🔻






➤ ต้องไปศึกษาปฐมบัญญัติ...ทำให้เข้าใจเหตุที่พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ยิ่งขึ้น กล่าวคือ...

๑. ป้องกันการตำหนิจากญาติโยม ว่าพระเป็นผู้มีความยินดีในการรับถวายกหาปณะ ซึ่งไม่ต่างจากโยม ทั้งยังครอบคลุมถึงการให้ผู้อื่นรับทอง-เงินแทนพระท่าน

๒. ป้องกันความลำเอียง การติดในลาภสักการะ ของพระภิกษุในภายหน้า จึงบัญญัติสิกขานี้เพื่อให้พระรู้จักสละ ไม่สะสมทรัพย์ โดยถ้าไม่สละให้เป็นของสงฆ์หลังจากรับทอง-เงิน พระรูปนั้นต้องอาบัตินิสสัคคียะตามพระวินัยนี้




'ภิกษุใดรับ หรือ ใช้ให้ผู้อื่นรับทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้ให้ '


เป็นประโยคที่ชัดเจนกว่า เพราะแม้พระภิกษุรูปใดไม่รับถวายทอง-เงินจากโยมต่อหน้า แต่ให้ผู้อื่น (รวมถึงไวยาวัจกร) รับก็ตาม แล้วพระรูปนั้นย้อนมารับทอง-เงินคล้อยหลังโยมที่ถวายซึ่งได้เดินทางกลับไปแล้ว ก็ต้องอาบัติเช่นกัน 

ดังนั้น ใครจะมากล่าวว่าพระของตนนั้นไม่รับถวายทอง-เงินจากโยมโดยตรงนั้นเคร่งกว่า ศีลบริสุทธิ์กว่าพระที่รับถวาย คงไม่ถูกเสมอไป ฝากพิจารณาดูเจตนาของพระคุณเจ้าให้ถ่องแท้ด้วย 

ส่วนจุดประสงค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เพื่อป้องกันมิให้สงฆ์นั้นเสื่อมเสีย สะสม ลำเอียง หรือ ติดในลาภสักการะ โดยกล่าวคุณสมบัติภิกษุผู้สละไว้ตามภาพกรอบล่าง 🔻




หลายท่านอาจให้ความเห็นว่า รูปแบบในปัจจุบัน ควรเป็นการนำเงินทำบุญไปมอบให้ไวยาวัจกรของวัดโดยตรง แล้วไวยาวัจกรเป็นผู้ออกใบปวารณาให้โยมนั้นไปถวายพระภิกษุ ซึ่งก็เห็นดีด้วย 

แต่ในทางปฏิบัติของยุคนี้ คำถามที่ตามมาคือ จะมีไวยาวัจกรกี่ท่าน? ที่รัดกุมในเรื่องการรับเบิกจ่ายของในวัดฯ เป็นสิ่งที่น่าคิดเหมือนกัน 

ประเด็นต่อมา...ครั้นเมื่อย้อนกลับไปดูข้อความในกรอบสีน้ำเงินของภาพล่าง 🔻



ที่ว่า โยมกับพระต้องบาปจนตกนรกขุมโรรุวะ นั้น เขียนว่าอ้างอิงจาก สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ เป็นผู้แสดงธรรมเทศนา สมุดภาพไตรภูมิฉบับอยุธยา-ฉบับธนบุรี

ที่อ้างสมเด็จพระวันรัต (แดง) เทศน์...ค้นไม่พบธรรมเทศนานั้น อาจอยู่ในบันทึกจดหมายเหตุฯ หากใครพบธรรมเทศนานี้ รบกวนอนุเคราะห์ข้อมูลด้วย 

อย่างไรก็ตามมีบันทึกว่า สมเด็จพระวันรัต รับติดกัณฑ์เทศน์จากรัชกาลที่ 5 เป็น 'แผ่นทอง' ตามรายละเอียดกรอบสีแดงในภาพ




ซึ่งสมเด็จพระวันรัต (แดง) ทรงประพฤติตามพระวินัยทุกประการ โดยรับถวายทองคำติดกัณฑ์เทศน์จากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (ร.๕) แล้วสละทองคำ เป็นการเอื้อเฟื้อนำไปปิดทองพระศรีศากยะมุนีพระประธานในโบสถ์วัดสุทัศน์ฯ 

➤ และจากรายละเอียดในภาพบนนั้น ติดกัณฑ์เทศน์ ในอดีต น่าจะมีนัยยะเดียวกับ ถวายซองปัจจัยบูชาธรรมเทศนา ในสมัยนี้ 

ส่วนที่อ้างสมุดภาพไตรภูมิฉบับอยุธยา-ฉบับธนบุรี ว่าด้วยนิสสัคคีย์ ต้องตกโรรุวนรก จึงขอนำภาพโรรุวนรกจากสมุดภาพดังกล่าวมาแสดงข้างล่าง 🔻

➤ ได้กล่าวถึงที่มาว่า เกิดจากวิบากผู้เจรจามุสาวาท รับเป็นพยานเท็จ ไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องการถวายทอง-เงินตามที่ภาพแรกกล่าวอ้างไว้แต่อย่างใด 



สรุป

๑. พระวินัยไม่ได้ห้ามโยมถวายทอง-เงิน 

ทานที่ให้มีผลดี เป็นข้อแรกของสัมมาทิฏฐิ (เว้นวัตถุทานต้องห้ามทั้ง5) 


๒. พระวินัยห้ามพระแสดงความยินดี (จนออกนอกหน้าเหมือนเป็นคฤหัสถ์) 

แม้โยมจะแสดงเจตจำนงที่จะถวายทอง-เงินก็ตาม รวมถึงแสดงความยินดีที่ให้ “ผู้อื่น” รับแทนพระด้วย พึงรับด้วยจิตอนุเคราะห์ ด้วยความเคารพ ด้วยรักษาศรัทธา


๓. พระวินัยปกป้องพระที่สละทอง-เงินที่ได้มาเอื้อเฟื้อแก่สงฆ์


๔. เรื่องวิบากย่อมเป็นไปตามพุทธภาษิต หว่านพืชเช่นไร ให้ผลเช่นนั้น

ดังโรรุวนรกเป็นที่รองรับผู้เจรจามุสาวาท ไม่ใช่จากผู้ถวายทอง-เงินกับพระ 


Cr. I am W i S H
ภาพประกอบ Google.com
ญาติโยมรู้ยัง...ถวายเงินอย่างไรไม่เป็นบาป.? ญาติโยมรู้ยัง...ถวายเงินอย่างไรไม่เป็นบาป.? Reviewed by สารธรรม on 00:18 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.