ธรรมยาตรา...ที่ยาวนานในประเทศไทย

- ทุกวันนี้ธรรมชาติภายในของคนส่วนใหญ่เสียสมดุลไปแล้ว กำลังประสบวิกฤตผู้คนจึงไม่มีความสุข เมื่อไม่มีความสุขจึงต้องแสวงหาความสุข แต่พอไปแสวงหาความสุขจากภายนอกเสพบริโภควัตถุ เงินทอง รถยนต์ บ้าน ชื่อเสียง ก็ยิ่งรู้สึกอ้างว้างเป็นทุกข์ เพราะว่ามันไม่ใช่บ่อเกิดแห่งความสุขที่แท้ -


ธรรมยาตราทำไม?


ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ภาพขบวนธรรมยาตราของพระภิกษุ  แม่ชี และญาติธรรมทุกเพศทุกวัย ที่ย่ำเท้าก้าวเดินด้วยอุดมการณ์ และพลังศรัทธาเดียวกันเป็นเวลา 8 วัน ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 18 ปีเต็ม

ถือเป็นการเดินธรรมยาตราที่สร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่อชุมชนในภาพรวมอย่างชัดเจน 

ด้วยระยะเวลา ด้วยคุณค่า จึงยากที่จะปฏิเสธว่ากิจกรรมอันเป็นตำนานนี้จะได้รับการยอมรับว่าเป็น ธรรมยาตราที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย 

เรากำลังพูดถึง "การเดินธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำปะทาว" ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 ด้วยการริเริ่มของ หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ ซึ่งเป็นอาจารย์ของ พระไพศาล วิสาโล แห่งวัดป่าสุคะโต จังหวัดชัยภูมิ


"...ธรรมยาตรา ไม่ใช่เป็นการเดินพาเหรด ไม่ใช่เป็นการประท้วง แต่เป็นการเดินอย่างสงบ เดินอย่างมีสติ ธรรมยาตราแปลว่าเดินด้วยธรรมะเดินด้วยสติ เดินด้วยความปรารถนาดีต่อธรรมชาติและผู้คนรอบข้าง
เดินธรรมยาตรานี้เกิดขึ้นมา เนื่องจากเห็นถึงความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ ห้วยน้ำลำปะทาวที่เคยเป็นสายเลือดสายชีวิตของชาวบ้านก็แปรสภาพไม่เพียงตื้นเขินแต่สิ่งมีชีวิตในลำปะทาวก็ตายลงเป็นจำนวนมาก

ที่พวกเราเป็นห่วงธรรมชาติไม่ใช่เพราะว่ามันกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำลำ
ปะทาว หรือเพราะชาวบ้านทำมาหากินฝืดเคืองต้องทะเลาะกันเพราะการใช้น้ำในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น

แต่เรายังรู้สึกถึงความเจ็บปวดความทุกข์ของธรรมชาติ ถ้าเรามีหัวใจที่ละเอียดอ่อนเราก็จะได้ยินเสียงร้องของธรรมชาติที่กำลังเจ็บปวด ป่าไม้กำลังจะตาย ลำน้ำกำลังล้มป่วย ผืนดินกำลังสิ้นลม

พวกเราจึงอยู่เฉยไม่ได้นี่เป็นที่มาของธรรมยาตรา


ภาพธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำปะทาวครั้งที่ 18 ปี พ.ศ.2560

อาสามาเป็นปากเสียงของธรรมชาติ เรียกว่าเป็นตัวแทนของธรรมชาติก็ได้ ของสัตว์เล็กสัตว์น้อยนั้นไม่มี ทั้งๆ ที่ได้รับบุญคุณจากธรรมชาติเหล่านี้ ทั้งๆ ที่มีคนน้อย มีกำลังน้อยแต่ถือเป็นหน้าที่ที่จะละเลยไม่ได้ จึงได้เริ่มเดินธรรมยาตรากันมาตั้งแต่ปี 2543 เรียกได้ว่า 

เป็นธรรมยาตราที่อายุยืนนานที่สุดในเมืองไทย!

ก่อนหน้านี้เคยมีธรรมยาตรารอบทะเลสาบสงขลา ทำมาตั้งแต่ปี 2537 แต่ว่าทำไม่ตลอดตอนนี้เลิกไปแล้ว มีแต่ธรรมยาตราเพื่อลำปะทาวที่ยังทำต่อเนื่องทุกปีไม่ได้ขาด และนับวันจะมีคนมาร่วมมากขึ้นปีนี้ก็เยอะมาก

แต่ก็อย่างที่บอกไว้แล้วว่ามากหรือน้อยไม่สำคัญ ขอให้มีดวงใจเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้คนจะน้อยแต่ว่าเรารักกันให้กำลังใจกันมันยิ่งทำให้เรากลมเกลียวกันมากขึ้น

การเดินธรรมยาตรา นอกจากเราเดินเพื่อธรรมชาติภายนอกแล้ว เรายังเดินเพื่อธรรมชาติภายในด้วย คือเดินเพื่อใจของเราด้วยใจของเราก็เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งถึงแม้ว่าจะมองไม่เห็นแต่ทุกคนก็รู้ดีว่ามันมีอยู่สัมผัสและรู้สึกได้
ภาพธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำปะทาวครั้งที่ 14 ปี พ.ศ.2556

ทุกวันนี้ธรรมชาติภายในของคนส่วนใหญ่เสียสมดุลไปแล้ว กำลังประสบวิกฤต ผู้คนจึงไม่มีความสุขเมื่อไม่มีความสุขจึงต้องแสวงหาความสุข แต่พอไปแสวงหา ความสุขจากภายนอกเสพบริโภควัตถุ เงินทอง รถยนต์ บ้าน ชื่อเสียง ก็ยิ่งรู้สึกอ้างว้างเป็นทุกข์เพราะว่ามันไม่ใช่บ่อเกิดแห่งความสุขที่แท้

การเดินธรรมยาตรา ถ้าเดินโดยวางใจให้ถูกก็จะสามารถจะฟื้นฟูธรรมชาติภายในใจที่เคยเสียไป หรือที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นปกติได้

เพราะฉะนั้นเราถึงต้องเดินด้วยธรรมะ

คือ เดินอย่างมีสติ เดินด้วยความรู้สึกตัวรู้เท่าทันความนึกคิดก็จะพบกับ สมาธิ คือความสงบ เมื่อพบกับความสงบแล้วก็จะเข้าใจเลยว่าคนเราถึงแม้มีน้อย กินน้อย ก็ยังมีความสุขได้ นี่ก็เป็นโอกาสให้เราได้ฝึกความอดทน ฝึกความเพียร

ธรรมยาตรานี้ คนที่ไม่เข้าใจก็อาจจะคิดว่ามาเดินเพื่อลำบาก ทำไมมาเดินเพื่อธรรมชาติถึงต้องลำบากแบบนี้ แต่ที่จริงแล้วเราต้องมาเจอกับความลำบากเพื่อที่เราจะได้รู้จักทุกข์

ถ้าเรารู้จักทุกข์เราก็จะเห็นทางออกจากทุกข์ได้


ภาพธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาวครั้งที่ 14 ปี พ.ศ.2556

เสน่ห์ของธรรมยาตราก็คือ...

การที่เราสามารถจะพบสุขได้แม้จะอยู่ท่ามกลางความทุกข์ ถ้าจะเดินธรรมยาตราให้ได้ประโยชน์จริงๆ ก็ต้องเดินจนสามารถพบสุขท่ามกลางความทุกข์ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเดินให้เป็น คือ เดินด้วยธรรมะแล้วธรรมะจะรักษาเรา

สรุปว่าการเดินธรรมยาตราคือ

เดินเพื่อธรรมะ ด้วยธรรมะ และในธรรมะ เดินเพื่อธรรมชาติ เดินเพื่อส่วนรวมไม่ใช่เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่เป็นการเดินเพื่อขัดเกลาตัวเราด้วย อย่างน้อยๆ ก็จะได้รู้จักการอยู่ง่าย กินง่าย

นี่คือจุดมุ่งหมายของธรรมยาตราที่อยากจะปูพื้นเอาไว้ว่า ไม่ใช่เป็นการเดินเพื่อธรรมชาติภายนอกอย่างเดียว แต่เป็นการเดินเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติภายในของเราให้กลับมาเป็นปกติ 

เมื่อเรามีธรรมชาติภายในที่เป็นปกติแล้ว ก็จะเห็นคุณค่าของการอยู่ง่ายกินง่าย เราจะเบียดเบียนผู้อื่นและเบียดเบียนธรรมชาติน้อยลง ที่ธรรมชาติเสื่อมโทรมทุกวันนี้เพราะมนุษย์เราไม่รู้จักพอ

การเดินธรรมยาตรา จึงเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เป็นการเชื่อมการปฏิบัติธรรมกับการอนุรักษ์ธรรมชาติแวดล้อมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
นี่คือที่มาของธรรมยาตราที่อยากจะชี้แจงให้พวกเราเข้าใจตรงกัน ถ้าเราเข้าใจว่าเราทำเพื่ออะไรแล้วจิตใจเราจะเข้มแข็งพอ และสามารถยิ้มรับกับความยากลำบากไม่ว่าจากดินฟ้าอากาศ การกินการอยู่หรือแม้แต่นิสัยที่ไม่ลงรอยกันของเพื่อนร่วมทาง

เราก็จะยิ้มรับได้ และสามารถปรับตัวเข้าหากันได้ง่ายขึ้นจนเป็นสุขได้ในทุกสถานการณ์..."

พระไพศาล วิสาโล
ธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำปะทาวปีที่ 10 ( วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552)


เดินธรรมยาตราไปตามหมู่บ้าน ชุมชนต่างๆ  เพื่อเล่าเรื่องราวสิ่งแวดล้อมให้คนในชุมชนได้ฟัง พร้อมกับเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้มาคิดร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน มากกว่าการเดินไปให้ข้อมูลฝ่ายเดียว 

ในขณะเดียวกันชาวบ้านก็ได้ทำบุญ ได้ไหว้พระ หากมองด้วยตาเราจะเห็นว่านี้คือธรรมยาตราเพื่อรักษาธรรมชาติภายนอก แต่แท้จริงแล้วการธรรมยาตรายังรักษาธรรมชาติภายในคือการยกระดับจิตใจด้วยธรรมะ
-วิชัย นาพัว ชมรมเด็กรักนก  ผู้ร่วมจัดธรรมยาตรา -



แม้วันนี้ หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ ผู้เป็นอาจารย์ได้ละสังขารไปแล้ว แต่การสืบสานอุดมการณ์เพื่อต่อลมหายใจให้ทรัพยากรธรรมชาติบนเทือกเขาภูแลนคา และลุ่มน้ำลำปะทาวที่เป็นเสมือนสายโลหิตเส้นใหญ่ที่ล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในจังหวัดชัยภูมิให้อยู่เย็นเป็นสุขไปถึงลูกหลานก็ยังดำเนินต่อไป

อีกทั้งผืนป่าธรรมชาติอันอุดมยังมีความสำคัญต่อ พระสงฆ์ แม่ชี และนักปฏิบัติธรรมได้อาศัยทำให้สามารถประพฤติปฏิบัติจนเห็นธรรม และเข้าใจธรรมะ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งสำหรับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์

เพราะฉะนั้นจึงอยากจะตอบแทนบุญคุณของธรรมชาติ

Click ที่ภาพ > รับชม ธรรมยาตรา : เส้นทางแห่งการตื่นรู้

ขอบคุณข้อมูล และภาพจาก
บทความของพระไพศาล วิสาโล www.visalo.org  korobiznet
อ่านบทความฉบับเต็ม Click > http://www.visalo.org/article/dhammayatra5201.htm
https://lampatao.wordpress.com/ ครั้งที่ 18 /2560
www.thairath.com
ธรรมยาตรา...ที่ยาวนานในประเทศไทย ธรรมยาตรา...ที่ยาวนานในประเทศไทย Reviewed by สารธรรม on 07:34 Rating: 5

3 ความคิดเห็น:

  1. ชาวพุทธผู้มีปัญญาควรพากัน...
    ...สร้างสรรค์...ส่งเสริม...สนับสนุนกิจกรรมพระพุทธศาสนา

    ชาวพุทธผู้มีศรัทธาและปัญญามักจะปรารภเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทำกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระรัตนตรัย และไม่ยึดถือ ไม่ส่งเสริมประเพณีเก่าๆ ที่เนื่องด้วยบาป เพราะชาวพุทธผู้มีปัญญามักจะมุ่งหาแต่เรื่องทำบุญ ทำเหตุแห่งความสุขความสำเร็จให้เกิดแก่ตนและผู้อื่น เพราะเหตุที่ตนต้องการมีปัญญาอย่างพระบรมศาสดาของตน และเพราะทราบว่าปัญญาในการแสวงหาบุญทำให้เกิดสุขและสิ้นทุกข์ทั้งปวงได้ โดยใช้หลักการที่พระบรมศาสดาให้ไว้ว่า

    "กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ก็ไม่ควรทำ
    ถ้า "อกุศลธรรมเสื่อ กุศลธรรมเจริญ ก็ควรทำ"
    พูดภาษง่ายๆ คือ "บาปเพิ่ม บุญหาย ก็อย่าทำ"
    ...."บุญเพิ่ม บาปหาย ก็ทำไป"
    หรือ ...ง่ายๆ ธรรมดาอีก...คือ เกิดโทษ..หรือเกิดประโยชน์ นั่นเอง

    ขอให้ทำอย่างต่อเนื่องทุกปี ปีละหลายๆ ครั้งด้วยก็ยิ่งดี การสร้างกิจกรรมนับเนื่องในพระรัตนตรัยให้ชาวพุทธเรา ไม่มีอะไรผิดเลย มีแต่ได้บุญอย่างเดียว ดังพระศาสดาตรัสว่า

    "ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา เป็นต้น ความว่า
    บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ปรารภเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วพึงให้ทาน"

    ชาวพุทธผู้มีศรัทธาและปัญญาโปรดมาสนับสนุนกิจกรรมเนื่องด้วยพระรัตนตรัยกันนะ
    อนุโมทนาสาธุๆๆ

    ตอบลบ
  2. วัดพระธรรมกายทำกิจกรรมธรรมยาตรา เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ ๖ "รักษ์บวร รักษ์ศีล ๕ ถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์

    เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของเทศกาลมาฆบูชา ถวายเป็นพุทธบูชา และกตัญญูบูชาต่อพระมหาเถระในอดีตที่รักษาพระพุทธศาสนาไว้ กิจกรรมตลอดเส้นทาง ใน ๔๘ วัด ๖ จังหวัด คือเส้นทางอนุสรณ์สถานฯ เน้นกิจกรรม สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น สวดธรรมจักร นั่งสมาธิ ถวายมหาสังฆทานคณะสงฆ์ในพื้นที่ ทอดผ้าป่าบำรุงวัดในท้องถิ่น มอบทุนการศึกษาเยาวชนในท้องถิ่น ร่วมกับชุมชนดูแลทำความสะอาดวัดแลัเสนาสนะในท้องถิ่น ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ตามหลัก "บวร - บ้าน - วัด - โรงเรียน" และการรณรงค์รักษาศีล ๕ ของประชาชน สอดคล้องตามแนวทางโดยการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา " หมู่บ้านรักษาศีล ๕ " และพระธรรมยาตรา ท่านกำลังฝึกอบรมในหลักสูตรที่สนองตามแนวทางมติของมหาเถรสมาคม และร่วมทำกิจกรรมในแต่ละแห่ง โดยเคลื่อนที่ด้วยวิธีโดยสารรถบัสและเรือเป็นหลัก ดอกเบญจทรัพย์ที่ใช้ต้อนรับพระธรรมยาตรา ในลักษณ์โปรยหรือวางบนพื้น เน้น "หลากสี" สืบสานพุทธประเพณีตามอย่างในพระไตรปิฎก ที่ระบุว่า ครั้งพนะสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกไปโปรยที่เมืองเวสาลี ชาวเมืองราชคฤห์โปรยส่งด้วยดอกไม้ ๕ สี และชาวเมืองเวสาลี โปรยรับด้วยดอกไม้ ๑๐ สี เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความเคารพในพระรัตนตรัย และกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมบุญกุศลฝนบวรพุทธศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด จัดทำขึ้นโดย เครือข่ายคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก(พล) และองค์กรภาคีกว่า ๒๐ องค์กร

    จึงขอเรียนเชิญ ท่านผู้มีบุญทุกท่านร่วมกิจกรรมงานบุญนี้ตลอดเส้นทางตั้งแต่วันที่ ๒ - ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑

    ตอบลบ
  3. 6 ความตั้งใจดีๆ เกี่ยวกับธรรมยาตราปีที่ 6

    1. เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา สืบสานพุทธประเพณี

    2. เพื่อบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ในเส้นทางพระผู้ปราบมาร

    3. เพื่อให้พระภิกษุบวชใหม่ได้ฝึกตนตามพุทธวิธี เป็นศาสนทายาทที่ดีแก่พระพุทธศาสนา

    4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งด้านศีลธรรม “รักษ์บวร รักษ์ศีล 5” ตามหลัก “บวร”

    5. เพื่อส่งเสริมศีลธรรมให้กับเยาวชนและประชาชน ให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา

    6. สร้างความเป็นสิริมงคลให้กับประเทศชาติ

    รักษ์บวร รักษ์ศีล5 ถวายเป็นพุทธบูชา และ บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา พุทธศักราช 2561

    วันที่ 2-31 มีนาคม พ.ศ.2561

    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมต้อนรับพระภิกษุธรรมยาตรา 1,134 รูป เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.