ย้อนรอย ปปง. ปมอายัดทรัพย์วัดธรรมกาย.?

ปปง.แจงหลักกฎหมาย

ห้ามยึดธรณีสงฆ์ศาสนสถาน

ทำให้ยึดทรัพย์ "ธรรมกาย" 

ไม่ได้.!


ย้อนรอยคำชี้แจงจาก ปปง.

เมื่อครั้งที่ DSI เข้าประชุมเพื่อหาเรือเรื่องแนวทางการยึดอายัดทรัพย์วัดพระธรรมกายกับทาง ปปง. จนปรากฏเป็นคำชี้แจงในกรณีนี้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ดังนี้

28 กุมภาพันธ์ 2558

พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวถึงการตรวจสอบติดตามธุรกรรมทางการเงินจากเช็คที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด สั่งจ่ายให้วัดธรรมกายมูลค่ากว่า 700 ล้านบาทว่าในส่วนของ ปปง.ถือว่าการตรวจสอบธุรกรรมเช็คสั่งจ่ายวัดธรรมกายเสร็จสิ้นแล้ว 

พบว่ามีการสั่งจ่ายเช็คโดยนายศุภชัยออกไปให้กับวัดธรรมกายจริงหลายครั้งครั้งละกว่า 100 ล้านบาท ก่อนหน้านี้ได้เชิญตัวแทนวัดธรรมกายมาให้ปากคำแล้ว พบเงินทั้งหมดถูกนำไปสร้างศาสนสถานแล้ว ซึ่งวัดธรรมกายได้นำเอกสารใบเสร็จต่างๆ มายืนยัน
ขณะที่ ปปง.เรียกดูเอกสารความเคลื่อนไหวทางการเงินจากธนาคารเพื่อตรวจสอบก็พบเส้นทางการเงินถูกนำออกไปใช้ก่อสร้างดังกล่าวจริง อย่างไรก็ตาม.! 

กฎหมายกำหนดว่า ที่ธรณีสงฆ์และศาสนสถานถือเป็นเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน ทำให้ ปปง. ไม่สามารถยึดทรัพย์ที่เป็นของแผ่นดินอีกได้ 


กฎหมายกำหนดไว้

ชัดเจน

ที่ธรณีสงฆ์ห้ามยึด.!


ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีการนำประเด็น ปปง.ยึดรถยนต์ลัมโบกินีของนายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือบอย นักแสดงชื่อดัง มาเปรียบเทียบกับกรณีวัดธรรมกายที่ไม่สามารถนำทรัพย์มาคืนได้ เลขาธิการ ปปง. ยอมรับว่ากรณีของนายปกรณ์ และวัดธรรมกายถือว่าเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเหมือนกันทั้ง 2 กรณี แต่เนื่องจาก

กรณีวัดธรรมกายมีกฎหมายกำหนดชัดว่า "ที่ธรณีสงฆ์ห้ามยึด" ปปง.จึงไม่สามารถดำเนินการได้

ศึกษาให้ชัดชัด...

ที่ธรณีสงฆ์ และวัดร้าง

มี พ.ร.บ.คุ้มครองให้

เป็นสมบัติพระศาสนา

เพราะเกิดจากศรัทธา

ประชาชน


นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิชาการของท่านผู้พิพากษา เมตตา ท้าวสกุล ซึ่งท่านเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง ทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่ศึกษากรณีปัญหาการได้มาและระงับสิ้นไปเกี่ยวกับที่ดินวัด โดยระบุว่า 


 ...ทรัพย์สินประเภทนี้เป็น ทรัพย์สินส่วนกลางของประชาชนที่เกิดจากความศรัทธาในศาสนาเป็นสำคัญ มิได้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐ มาตั้งแต่ต้น
นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของทรัพย์สินของวัด มิได้เป็นไปเืพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินส่วนรวมอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นประโยชน์แก่บุคคลที่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัตถุประสงค์จำกัดเพื่อศาสนาพุทธเท่านั้น
กฎหมายมิได้กำหนดให้ทรัพย์สินประเภทนี้เป็นทรัพย์สินของรัฐ แต่อย่างไรก็ตามที่ดินวัดที่ธรณีสงฆ์ก็จะได้รับความคุ้มครองพิเศษกว่าทรัพย์สินของเอกชนทั่วๆ ไป
เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย หรือศาสนาของประชาชนส่วนใหญ่ กล่าวคือที่ธรณีสงฆ์โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ หรือไม่อยู่ในการรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี.!


ขอบคุณข้อมูลจาก
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Fb Ptreetep Chinangkuro / Fb ชุลีพร ช่วงรังษี
เพราะความลับไม่มีในอากาศ
ย้อนรอย ปปง. ปมอายัดทรัพย์วัดธรรมกาย.? ย้อนรอย ปปง. ปมอายัดทรัพย์วัดธรรมกาย.? Reviewed by สารธรรม on 07:59 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.